วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 13 วันที่ 9 กันยายน 2553

อาจารย์ไห้ส่งงานที่อาจารย์ใด้มอบหมายไห้ทำ pop up

ครั้งที่ 12 วันที่ 2 กันยายน 2553

วันนี้อาจาย์ได้นัดให้มาเรียนพร้อมกันทั้ง กลุ่มเรียน 101 และ 102 เพื่อที่อาจารย์จะสอนวิธีการเล่นเกมการศึกษาในรูปแบบต่างๆ
โดยเกมส่วนที่อาจารยืนำมาสอนส่วนใหญ่เป็นเกมการศึกษาที่นำมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้

ครั้งที่ 11 26 สิงหาคม 2553

ในการเรียนครั้งนี้ อาจรยืติดภาระกิจของมหาวิทยาลัยจึงมีการหยุดการเรียนการสอนในครั้งนี้ แต่อาจารยืได้ให้งานไว้เพื่อไม่เป็นการสูญเสียเวลา

ครั้งที่ 10 19 สิงหาคม 2553

อาจารย์ได้ให้ส่งงานที่มอบหมายให้ไปทำมีทั้งหมด 3 ชิ้น ได้แก่
  1. การพับกระดาษปากนก
  2. การพับกระดาษแบบมี 3 มิติ
  3. การพับกระดาษแบบหกมุมกระดาษเวลาเปิดก็สามารถเด้งออกมาได้

งานทั้ง 3 ชิ้นนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้นำกลับไปทำที่บ้าน โดยทำรูปอะไรก็ได้ตามจินตนาการของเราเองและนำมาส่งอาทิตย์หน้า

ครั้งที่ 9 7 สิงหาคม 2553

วันนี้อาจารย์ได้นัดมาเอบรมเกี่ยวกับสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และมีวิทยากรมา 2 ท่าน ซึ่งทั้ง 2 ท่านนี้นั้นมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการผลิตสื่อมากมาย การอบรมครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เกี่ยวกับสื่อที่ไม่รู้จักมากมายและเทคนิคในการทำสื่อ และในการทำสื่อครั้งนี้ ได้รับค่าอาหารกลางวันคนละ 30 บาท

ครั้งที่ 8 5 สิงหาคม 2553

วันที่ 5 สิงหาคม อาจารย์ได้ชี้แจงในการอบรมสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารยืบอกว่าจะมีวิทยากร มา 2 ท่าน โดยมีความเชี่ยวชาญทางด้านสื่อเพื่อเด็กปฐมวัย จุดประสงคืของอาจาย์เพื่อให้เรานั้นสามารถทำสื่อได้หลายๆรู้แบบ และสามารถนำมาประยุกตืใช้ในการเรียนได้

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 6

วันนี้อาจรย์ได้พูดเกี่ยวกับสื่อและได้ให้ความหมายดังนี้

ความสำคัญของสื่อ
  • ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
  • ได้รับประสบการณ์ตรง และยังสามารถจดจำได้นาน
  • รวดเร็ว เพลิดเพลิน เข้าใจได้ง่าย

ลักษณะที่ดีของสื่อ

  • ต้องมีความปลอดภัย
  • ประโยชน์ที่รับนั้นมีความเหมาะสมกับทางด้านความสามารถของเด็ก
  • ประหยัด
  • มีประสิทธิภาพ

หลักกการสื่อ

  • มีคุณภาพ
  • เด็กเข้าใจง่าย
  • เลือกให้เหมาะสมกับสภาพนั้นๆ
  • เหมาะสมกับวัยเด็ก
  • เหมาะสมกับเวลาที่ใช้งาน
  • ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  • ถูกต้องตามเนื้อหา มีความทันสมัย
  • เด็กกล้าที่จะแสดงออก

การเรียนวันนี้ของข้าพเจ้าที่อาจาย์สอนนั้นทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมอย่างมากเกี่ยวกับความสำคัญของสื่อและด้านต่างๆที่เกี่ยวกับสื่อและมีความสอดคล้องกับตัวเด็ก

ครั้งที่ 5 วันที่ 15 ก .ค 53


การนำเสนอสื่อ


สื่อของข้าพเจ้าเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อที่จะให้เด็กนั้นได้สัมผัสและเรียนรู้ในกาที่สังเกตรูปทรงต่างๆและเด็กจะได้รู้จักในการแก้ไขปัญหาในการที่จะใส่รูปทรงไม่ตรงตามรูปแบบและสามารถที่จะให้เด็กนั้นได้รู้จักสีสันของรูปทรงและทำให้เด็กได้มีประสาทสัมพันธ์กับกล้ามเนื้อมือและตา

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่4 07/08/2010



การแบ่งประเภทสื่อ
  • ตามลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • ตามลักษณะการสอน
1.ประสบการณ์ตรง
เป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดโดยการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานการณ์จริงหรือการกระทำของตนเองเช่นการจับต้องและการเห็นเป็นนต้น

2.ประสบการณ์รอง
เป็นการเรียนรู้โดยผู้เรียน เรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้

3.ประสบการณ์นาฎการหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีหัวข้อจำกัด

4.การสาธิต
เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้ลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น

5.การศึกษานอกสถานที่
เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการท่องเที่ยวการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หรือการสัมภาษณ์เหล่านี้เป็นต้น

6.นิทรรศการ
เป็นการจัดการแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดนิเทศเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม

ตามแนวคิดของบูเนอร์( Jerome S .Bruner)
  • กลุ่มการกระทำ ( Enactive )
  • กลุ่มภาพ ( Iconic )
  • กลุ่มนามธรรม ( Abstracs )
สรุป


หลักการในการเลือกสื่อการสอน

1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
3. เลือกสื่อการสอนที่ให้เหมาะสมกับลักษณะกับผู้เรียน
4. เลือกสื่อการสอนที่ให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและกิจกรรมการเรียน
5. เลือกสื่อการสอนที่ให้เหมาะสมสภาพแวดล้อม
6. เลือกสื่อการสอนให้มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบำรุงรักษาได้สะดวก

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่3 07/01/2010



วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องสื่อการเรียนการสอน สื่อหมายถึงอุปกรณ์ต่างๆอาจเป็นวัสดุเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางแผนใช้เข้าร่วมในเนื้อหาหลักสูตรต่างๆอย่างเหมาะสม สื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้นเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อน

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีของฟรอยด์

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

ฟรอยด์ (Freud, 1856-1939) เป็นชาวออสเตรีย เป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของพัฒนาการในวัยเด็ก ถือว่าเป็นรากฐานของ พัฒนาการของบุคลิกภาพ ตอนวัยผู้ใหญ่ สนับสนุนคำกล่าวของนักกวี Wordsworth ที่ว่า "The child is father of the man” และมีความเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตมีความสำคัญมาก เป็นระยะวิกฤติของพัฒนาการ ของชีวิตบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ มักจะเป็นผลรวมของ 5 ปีแรก ฟรอยด์เชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ ที่แตกต่างกัน ก็เนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคน เมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคน แก้ปัญหาของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร ทฤษฎีของฟรอยด์มีอิทธิพลทางการ รักษาคนไข้โรคจิต วิธีการนี้เรียกว่า จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) โดยให้คนไข้ระบายปัญหาให้จิตแพทย์ฟัง
ทฤษฎีของฟรอยด์อาจจะกล่าวหลักโดยย่อดังต่อไปนี้

ฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ

1.จิตสำนึก (Conscious)

2.จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious)

3.จิตไร้สำนึก (Unconscious)
เนื่องจากระดับจิตสำนึก เป็นระดับที่ผู้แสดงพฤติกรรมทราบ และรู้ตัว ส่วนเนื้อหาของระดับ จิตก่อนสำนึก เป็นสิ่งที่จะดึงขึ้นมา อยู่ในระดับจิตสำนึก ได้ง่าย ถ้าหากมีความจำเป็นหรือต้องการ ระดับจิตไร้สำนึกเป็นระดับที่อยู่ในส่วนลึกภายในจิตใจ จะดึงขึ้นมาถึงระดับจิตสำนึกได้ยาก แต่สิ่งที่อยู่ในระดับไร้สำนึก ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ฟรอยด์เป็นคนแรก ที่ได้ให้ความคิดเกี่ยวกับแรงผลักดันไร้สำนึก (Unconscious drive) หรือแรงจูงใจไร้สำนึก (Unconscious motivation) ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของพฤติกรรม และมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์

ฟรอยด์กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาติญาณติดตัวมาแต่กำเนิด และได้แบ่งสัญชาติญาณออกเป็น 2 ชนิดคือ

1) สัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต (Life instinct)
2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct)

สัญชาตญาณบางอย่าง จะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพื่อการดำรงชีวิตไว้อย่างละเอียด ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิด เรียกพลังงานนี้ว่า "Libido” เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิตอยู่ อยากสร้างสรรค์ และอยากจะมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศ หรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมาย คือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก และได้เรียกส่วนนี้ว่า อีโรจีเนียสโซน (Erogenous Zones) แบ่งออกเป็นส่วนต่างดังนี้
- ส่วนปาก ช่องปาก (Oral)
- ส่วนทางทวารหนัก (Anal)
- และส่วนทางอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital Organ)
ฉะนั้น ฟรอยด์กล่าวว่าความพึงพอใจในส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ เป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
1. ขั้นปาก (Oral Stage)
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแฝง (Latence Stage)
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)

ครั้งที่2 06/24/2010



อาจารย์พูดถึงการยกตัวอย่างการขี่จักรยานต้องมีความพยายามในการขี่จักรยานล้มแล้วลุกใหม่เหมือนการทำบล็อกผิดแล้วทำใหม่รู้จักพัฒนาใหม่ อาจารยืให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และอาจารรย์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยและให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นและแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม และอาจารย์ได้สั่งให้หาทฤษฏีเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยให้อ่านและโพสต์ใส่ในบล็อก

ครั้งที่1 06/17/2010

อาจารย์สั่งให้ทำประวัติส่วนตัวและอาจารย์ได้สั่งให้เขียนประวัติอย่างละเอียดและให้เขียนว่ากู้เงินด้วยหรือเปล่าและอาจารย์พูดถึงการทำบล็อกเกอร์และอาจารย์พูดถึงมารยาทในห้องเรียนและอาจารย์พูดถึงการเข้าห้องเรียน